คำถามที่ถามบ่อย เกี่ยวกับ ฟรีไดฟ์ การดำน้ำตัวเปล่า
Freediving และ Snorkelling คล้ายคลึงกันในแง่ที่ว่าใช้อุปกรณ์หลักๆเหมือนๆกัน ได้แก่ หน้ากาก ตีนกบ ท่อสน็อคเกิ้ล ความแตกต่างอยู่ที่ สำหรับ Snorkelling เราจะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ คาบท่อ สน็อคเกิ้ลตลอดเวลา ดูสิ่งต่างๆใต้น้ำ ในขณะที่ Freediving จะมีการกลั้นหายใจ และดำลงสู่ใต้น้ำ
จำเป็นครับ ต้องว่ายน้ำพอได้ ควรลอยตัว ช่วยเหลือตัวเองในน้ำได้ จริงอยู่ว่า เมื่อเราสวม mask และคาบท่อ Snorkel ไว้ในปาก และจุ่มหน้าลงไปในน้ำ เราจะลอยตัวได้ เพราะในปอดเรามีอากาศซึ่งเบากว่าน้ำ แต่หากเราว่ายน้ำ ลอยต้ว และช่วยเหลือตัวเองในน้ำ ไม่ได้ เราจะไม่สามารถผ่อนคลายได้ เมื่อเรากลัว เกรง เครียด การดำน้ำแบบฟรีไดฟ์จะทำได้ยากมาก และอาจเกิดอันตรายได้
สำหรับนักเรียน ที่ว่ายน้ำ ไม่เป็น ทางครู จะสอนเพิ่มเติมการลอยตัว การเอาตัวรอดในน้ำ เบื้องต้นให้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
จริงๆแล้ว เพียงเรากลั้นหายใจ และดำลงไปใต้น้ำ ก็นับได้ว่าเป็นการ freediving แล้ว ผมเอง สมัยวัยรุ่น ก่อนลงคอร์สเรียน ตอนไปดำ snorkelling ก็เคยกลั้นหายใจและลองดำลงไปใต้น้ำเอง เหมือนพี่ๆ ชาวมอร์แกนที่หมู่เกาะสุรินทร์ ลงไปได้ไม่กี่เมตรครับ แค่ 2-3 เมตร เพราะยังเคลียร์หูไม่เป็น ดังนั้นเราสามารถหัดเรียนรู้ฟรีไดฟ์ได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม การเรียนฟรีไดฟ์ อย่างเป็นกิจลักษณะกับ สถาบันที่เชื่อถือได้ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เนื่องจาก หลักสูตรการเรียนที่เป็นมาตรฐาน จะทำให้เราได้เรียนรู้ หลักการ เทคนิค ที่ถูกต้องและปลอดภัย มากกว่าที่จะหัดและทดลองเอง หลักสูตรยังครอบคลุมถึง ข้อควรระวัง กฎเกณฑ์ สี่งที่ควรหลีกเลี่ยง ข้อควรปฏิบัติต่างๆ ที่หากละเลยอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ เช่น การห้ามทำ hyperventilation
ฟรีไดฟ์ ก็เหมือนกับกีฬา ประเภทอื่นๆ ซึ่งต้องมีกฎเกณฑ์ด้านความปลอดภัย อย่างเช่น กีฬาฟุตบอล ห้ามเข้าบอลจากด้านหลัง เพราะอาจเกิดอันตรายต่อผู้เล่นได้ สำหรับฟรีไดฟ์ หากทำตามกฎ หรือข้อแนะนำด้านความปลอดภัย ถือได้ว่า เป็นกีฬาที่ปลอดภัยมาก ส่วนมากอันตรายมักเกิดขึ้นเมื่อ นักดำน้ำ ละเมิด และ/หรือ เพิกเฉย ต่อกฎและข้อแนะนำด้านความปลอดภัย เช่น การห้ามดำน้ำคนเดียว โดยไม่มีบัดดี้, การห้ามทำ Hyperventilation, เมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำต้องทำ Recovery Breath ทุกครั้ง เป็นต้น
ฟรีไดฟ์ นับได้ว่า เป็นกีฬา ที่ใช้พละกำลังมาก นักดำน้ำควรมีความฟิตระดับนึงเลย หากไม่มั่นใจว่าตนเองฟิตพอไหม ควรเริ่มจากหลักสูตรเริ่มต้น อย่าง Try Freediving หรือ Basic Freediving ก่อน เพื่อประเมินก่อนว่าเราเหมาะกับกีฬาประเภทนี้หรือไม่ สำหรับหลักสูตร Try Freediving และ Basic Freediving ไม่มีการทดสอบ เป็นเพียงการเรียนรู้ ศึกษา และทดลองปฏิบัติ โดยมาก เกือบทุกคนสามารถเรียนรู้ที่จะดำลงน้ำไปได้ในระดับ 3-5 เมตร หากไม่มีปัญหาในเรื่องของการเคลียร์หู (Equalization)
ขี้นอยู่กับสถานที่ ที่เราดำน้ำ หากเราดำแต่เมืองไทย ที่อากาศร้อนเกือบตลอดปี เวทสูทอาจไม่จำเป็นนัก Rash Guard หรือชุดว่ายน้ำ อาจเหมาะสมกว่า เพราะคล่องตัวกว่า สวมใส่ง่ายกว่า แต่หากจุด หรือบริเวณที่เราดำน้ำมีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา เราควรใส่ เวทสูท ด้วย ความหนาของเวทสูท ขึ้นอยู่กับว่า อุณหภูมิต่ำขนาดไหน เวทสูทช่วยป้องกันภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) และอาจยังช่วยป้องกันพิษของสัตว์น้ำบางชนิดอย่าง แมงกะพรุนและแตนทะเลด้วย
หน้ากากที่เหมาะสำหรับ ฟรีไดฟ์ ควรเป็นแบบ Low Volume ส่วนฟินนั้น อาจเป็นฟินสั้นหรือฟินยาว ฟินพลาสติก ฟินไฟเบอร์ หรือ ฟินคาร์บอนก็ได้ สามารถอ่านรายละเอียดการเลือกอุปกรณ์เพิ่มได้ที่ หน้านี้ครับ การเลือกอุปกรณ์
สำหรับฟินแล้ว บางท่านอาจอยากได้ ฟินยาว ฟินคาร์บอน จะได้ดำลงได้เร็วๆ แต่ปัญหาสำหรับมือใหม่ คือส่วนมากจะเคลียร์หูได้ไม่เร็วพอ ก็ต้องค่อยๆลง กลายเป็นว่า ถึงใช้ฟินยาว ก็ลงเร็วไม่ได้อยู่ดี ฟินสั้นอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าก็ได้ครับ