อีกหนึ่งคำถามที่นักเรียนที่สนใจลงเรียนฟรีไดฟ์ ถามกันมามากว่า ควรเรียน คอร์สไหนดี ระหว่าง Try Freediver, Basic Freediver หรือ Pool Freediver ? บทความนี้มีคำตอบครับ โดยจะเปรียบเทียบความแตกต่างของแต่ละคอร์ส การเลือกคอร์สให้ตรงกับความต้องการของเรา
Category Archives: ความรู้ฟรีไดฟ์
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฟรีไดฟ์ ความเป็นมา การหายใจ การเคลียร์หู เป็นต้น
อีกหนึ่งคำถามยอดนิยม ที่คนถามกันมามาก เรียนฟรีไดฟ์ ว่ายน้ำไม่เป็น เรียนได้ไหม? หรือ ถ้าว่ายน้ำไม่แข็ง เรียนฟรีไดฟ์ได้ไหม? จริงๆแล้ว ทักษะในการดำน้ำฟรีไดฟ์ และทักษะในการว่ายน้ำนั้นแตกต่างกัน คนที่ว่ายน้ำเก่ง อาจดำน้ำไม่เก่ง
จากนั้นเราย้ายจุดเรียนฟรีไดฟ์กัน ฝึก Duckdive ที่สระ 1.8 เมตร ก่อน เพื่อเพิ่มความมั่นใจ ครูพยายามปรับการเรียนการสอนให้ตรงความต้องการของนักเรียนด้วย อย่างน้องเนย น้องเอ เค้ามีแผนจะไปเที่ยว สิมิลัน เดือนกุมภาพันธ์ ครูเลยเน้นและให้เวลากับการ duckdive มากเป็นพิเศษ
ในการฝึกดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ ส่วนมากเรามักมีโอกาสน้อยที่จะได้ฝึกในทะเล เพราะส่วนใหญ่ เราอาศัยกันอยู่ในเมือง ไกลจากทะเลพอสมควร อย่างผมอยู่แถวนนทบุรี ทะเลใกล้สุด ก็น่าจะเป็นแถวๆ บางเสร่ แสมสาร ขับรถไปอย่างน้อยก็ 2 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาเดินทางบนเรืออีก
อีกหนึ่งคำถามยอดนิยม สำหรับคนที่สนใจจะเริ่มเรียนฟรีไดฟ์ จะเลือกเรียนที่ไหนดีล่ะ สถาบันไหนดี มีสถาบันให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น SSI, PADI, AIDA, Molchanoves, RAID เยอะจนเลือกไม่ถูก พอเลือกสถาบันได้แล้ว ก็ต้องเลือกครูอีก ครูผู้สอนก็มีมากมาย จะเลือกครูท่านไหนดีล่ะ
รูปแบบ (Discipline) ในการเรียนฟรีไดฟ์นั้นมี หลายรูปแบบ เช่น Static Apnea (STA), Dynamic Apnea (DYN, DNF), ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน เราก็ต้องทำการกลั้นหายใจ (breath hold) เมื่อเราหายใจเข้า เราจะสูดอากาศซึ่งมีส่วนผสมของ ไนโตรเจน 79% และออกซิเจน 21% ออกซิเจน จะถูกใช้ในขบวนการเมตาบอลิซึม เพื่อสร้างพลังงาน และกลายเป็น คาร์บอนไดออกไซด์
ฟรีไดฟ์ นับได้ว่าเป็นกีฬาแบบหนึ่ง หลังจากเรียนฟรีไดฟ์มาแล้ว หากเราอยากพัฒนา ก็ต้องฝึกซ้อม สำหรับคนส่วนมาก ที่ไม่ได้อยู่ติดทะเล ไม่สามารถหาโอกาสฝึกซ้อมในทะเลได้ ก็คงต้องฝึกซ้อมในสระว่ายน้ำ ใกล้บ้าน รูปแบบการฝึกซ้อมในสระว่ายน้ำ ก็มีหลายรูปแบบ เช่น ฝึกการกลั้นหายใจอยู่กับที่ (Static Apnea)
หลายคนอาจคิดว่า ฟรีไดฟ์เป็นกีฬาสุดขั้ว (Extreme) บ้าง บางคนอาจคิดว่า มีกิจกรรมสันทนาการสนุกๆ จะได้ไปดำน้ำได้สนุกขึ้น ใกล้ชิดสัตว์น้ำ ปะการังมากขึ้น แต่อันที่จริงแล้ว ฟรีไดฟ์นั้นมีประโยชน์มากกว่าที่เราคิดมาก
การ Duck dive หากทำได้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ จะทำให้เรามุดน้ำ ดำลงได้ อย่างนิ่มนวล และใช้พลังงานน้อย หากทำทุกอย่างได้ค่อนข้างสมบูรณ์ หลังจาก duck dive และ Arm stroke ตัวเราจะไหลไปได้ถึงระดับความลึกประมาณ 5 เมตร
ในร่างกายเรามีช่องว่างที่มีอากาศอยู่หลายจุด เช่น โพรงไซนัส ช่องในหูชั้นกลาง เมื่อเราดำดิ่งลึกลงไป ความดันบรรยากาศ จะทำให้อากาศในช่องเหล่านี้มีขนาดเล็กลง เราจึงต้องชดเชยโดยการเติมลมเข้าไป นั่นแหล่ะครับ คือการปรับความดันหูชั้นกลาง
- 1
- 2